วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

น้ำตกพลิ้ว สถานที่น่าท่องเที่ยวติดอันดับ






อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว



อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองอำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายและมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือ น้ำตกพลิ้วที่สวยงาม มีน้ำตกตลอดปี เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสาย ทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้วมีเนื้อที่ประมาณ 135.50 ตารางกิโลเมตรหรือ 84,062.50 ไร่

ที่ตั้ง
๔๑ หมู่ ๑๒ ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ๒๒๑๙๐
โทรศัพท์ ๐ ๓๙๔๓ ๔๕๒๘, ๐๘ ๖๙๗๗ ๐๗๙๔
อีเมล: jammer292002@yahoo.com เว็บไซต์: www.dnp.go.th
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม จุดเด่น คือ มีปลาพลวงจำนวนมากที่นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำกับปลาได้ มีการบริหารจัดการในเรื่องการแบ่งเขตพื้นที่ใช้สอย และมีมาตรการการรักษาความปลอดภัยอย่างชัดเจน เช่น การติดตั้งทุ่นกำหนดเขตเล่นน้ำ ป้ายเตือน และมีเจ้าหน้าที่ดูแลตามจุดต่างๆ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงการลาดตระเวนรักษาความปลอดภัย
ประวัติความเป็นมา
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2502 ให้กำหนดป่าเขาสระบาปจังหวัดจันทบุรี และป่าอื่นๆในท้องที่จังหวัดต่างๆรวม 14 ป่าเป็นอุทยานแห่งชาติ ในขั้นแรกกรมป่าไม้ได้กำหนดพื้นที่ที่ดินป่าน้ำตกพลิ้ว - เขาสระบาป ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2505 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2504 และในปี พ.ศ. 2515 ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงบริเวณน้ำตกพลิ้ว จัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำตกพลิ้ว อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดจันทบุรี
ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2517 เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2517 ได้มีมติให้รีบดำเนินการประกาศพื้นที่ป่าที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2502 เป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร็ว และจังหวัดจันทบุรีได้มีหนังสือด่วนมากที่ จบ.09/1401 ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2517 ขอให้กรมป่าไม้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำวนอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เพื่อปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักวนอุทยาน ประกอบกับในปี 2517 กองอุทยานแห่งชาติ มีแผนงานจัดบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ.2517 กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 360/2517 ลงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2517 ให้นายสินไชย บูรณะเรข นักวิชาการป่าไม้ตรี และนายประชุม ตัณยะบุตร พนักงานโครงการชั้น 2 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลบริเวณป่าน้ำตกพลิ้ว เขาสระบาป ในท้องที่จังหวัดจันทบุรี ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนเป็นต้นน้ำลำธาร เช่น น้ำตก หน้าผา ถ้ำ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่กส.0708(อส)/7 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2517 กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2517 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2517 เห็นชอบให้กำหนดที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำตกพลิ้ว- เขาสระบาปในท้องที่ตำบลพลับพลา ตำบลคลองนารายณ์ ตำบลคมบาง อำเภอเมือง ตำบลพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม และตำบลมานใบ ตำบลวังสรรพรส ตำบลตรอกนอง ตำบลซึ้ง ตำบลตะปอน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุงจังหวัดจันทบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 87 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2518 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 10 ของประเทศ โดยใช้ชื่อว่า " อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป "
ต่อมาอุทยานแห่งชาติเขาสระบาป (นายผจญ ธนมิตรามณี) ได้มีหนังสือที่ กษ.0708 (สบ)/พิเศษ ลงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2525 ขอเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาติเขาสระบาปเป็นอุทยานแห่งชาติ น้ำตกพลิ้ว เนื่องจากน้ำตกพลิ้วเป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ เป็นเอกลักษณ์และจุดเด่นของอุทยานแห่งชาติ เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว และประชาชนโดยทั่วไปเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2525 เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2525 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเป็น "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว"

Thailand Tourism Awards 2010

Thailand Tourism Awards 2010 (โครงการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย 2553)

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้กำหนดจะจัดการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553(Thailand Tourism Awards 2010 ) โดยวัตถุประสงค์สำคัญของการจัดประกวดฯ ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศให้เกิดจิตสำนึกในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ และสร้างการยอมรับของรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในระดับนานาชาติ รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ของ ททท.ในการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย ที่เน้นการดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานการจัดการที่ยั่งยืน ความตระหนักในการรักษาคุณภาพสินค้าและบริการ

ดังนั้น จึงถือได้ว่า “รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย” จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ถือเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สร้างความภาคภูมิใจและได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ โดยการจัดประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 ได้มีการแบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 5 ประเภทรางวัล ได้แก่
1. รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยว
2. รางวัลประเภทที่พักนักท่องเที่ยว
3. รางวัลประเภทองค์กรสนับสนุน และส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. รางวัลประเภทรายการนำเที่ยว
5. รางวัลประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
สำหรับเกณฑ์การตัดสินรางวัลประเภทต่าง ๆในการประกวด ฯ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 นั้น มีกรอบแนวคิดหลักเกณฑ์การตัดสินรางวัลตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนใน 4 มิติ (การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิต การมีส่วนร่วมของชุมชน ความรับผิดชอบต่อสังคม) ขององค์กรสหประชาชาติ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และมีความพร้อมด้านส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว โดยคณะกรรมการตัดสินการประกวดจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ และผู้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากหลายหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

สำหรับสิทธิประโยชน์ของผลงานที่ได้รับรางวัลการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 นั้น จะได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รวมถึงการส่งเสริมการขายในช่องทางของ ททท. ตลอดระยะเวลา 1 ปี หลังจากประกาศผลการประกวดรางวัลฯ ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 ได้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2553 โดย ททท. จะประกาศผลงานที่ได้รับรางวัลอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 กันยายน 2553 ซึ่งตรงกับวันท่องเที่ยวโลก (World Tourism Day)


การประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 (Thailand Tourism Awards 2010) ครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมสมัครเข้าประกวดในประเภทรางวัลการประกวดทั้ง 5 ประเภท รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 315 ผลงาน ทั้งนี้คณะกรรมการตัดสินรางวัลได้ตรวจเยี่ยมผลงานต่างๆที่เข้าร่วมประกวด และได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกผลงานที่โดดเด่น มีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการนำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ มีการสร้างคุณค่าและมูลค่าสินค้าและบริการท่องเที่ยว และมีความพร้อมในการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว มาเป็นกรอบแนวคิดในการตัดสิน โดยผลการตัดสินการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมครั้งที่ 8 ประจำปี 2553 ครั้งนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 112 รางวัล

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขอแสดงความยินดีและชื่นชมผลงานที่ได้รับรางวัลทั้ง 112 ผลงาน และขอเป็นกำลังใจให้กับผลงานที่ร่วมสมัครการประกวดทุกผลงาน และขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยในการเป็นต้นแบบของความร่วมมือ ความมุ่งมั่นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติที่ยั่งยืน และดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมที่งดงามของชาติ
ประเภทรางวัล
๑. ผลงานรางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยว
แบ่งเป็น ๖ ประเภทผลงาน ดังนี้
๑. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
๒. แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
๓. แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
๔. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
๕. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
๖. แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ
นิยามประเภทแหล่งท่องเที่ยว
๑. แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
หมายถึง บริเวณหรือพื้นที่ทางบกหรือทางทะเลที่มีความเป็นธรรมชาติและเปิดให้สาธารณชนเข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว หรือพักผ่อน หรือสัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หรือระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอาจอยู่ในความรับผิดชอบดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนหรือภาคประชาชนก็ได้ เช่น อุทยานแห่งชาติทางบก และทางทะเล วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า แหล่งน้ำลำธาร ถ้ำ น้ำตก ลำน้ำ ทะเลสาบ โป่งพุร้อน แหล่งโบราณชีววิทยา ป่าชายเลน เกาะ ชายหาด แนวปะการัง ธรรมชาติในท้องทะเล เป็นต้น
๒. แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
หมายถึง สถานที่ที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี หรือศาสนสถาน และอาจรวมถึงสถานที่ที่มีการจัด ตกแต่ง หรือรวบรวมงานด้านศิลปะหรือวัฒนธรรมของประเทศ หรือของท้องถิ่น โดยมีการจัดการเพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้ามาใช้เพื่อการท่องเที่ยวและศึกษาหาความรู้ แหล่งท่องเที่ยวประเภทนี้อาจอยู่ในความรับผิดชอบดูแลโดยหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนก็ได้ เช่นอุทยานประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี อนุสาวรีย์ ศาสนสถาน กำแพงเมือง คูเมือง เป็นต้น
๓. แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
หมายถึง ชุมชนในเขตเมืองหรือในชนบทที่เปิดให้มีการท่องเที่ยวเพื่อให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตหรืออัตตลักษณ์ของชุมชน รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวแบบอื่นๆ ทั้งนี้ โดยมีสมาชิกของชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทาง แผนงานและการจัดการการท่องเที่ยว
๔. แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทางบกหรือทางทะเลที่มีการดูแลรักษา และให้การเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพและวิถีชีวิตท้องถิ่นแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน โดยการมีส่วนร่วมและกระจายประโยชน์สู่ท้องถิ่นด้วยความเป็นธรรมโดยมีลักษณะสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้
• เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีการอนุรักษ์อย่างเข้มข้น
• เห็นคุณค่าของธรรมชาติแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นจุดขายมากกว่าสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการ
• กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• มีองค์ประกอบของการบริการที่เน้นการให้ข้อมูลและสื่อความหมายธรรมชาติ
• ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมบริการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
• แหล่งท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม
๕. แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
หมายถึง สถานที่ที่จัดสร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการเกษตรเป็นหลัก เช่น ฟาร์มปศุสัตว์ ไร่องุ่นผลิตไวน์ สถานีพืชสวนฟาร์มไข่มุก สวนผลไม้ สวนไม้ดอก เป็นต้น โดยในสถานที่ดังกล่าวนี้ได้มีการจัดบริการต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเยี่ยมชมหาความเพลิดเพลิน และเรียนรู้ได้ อาทิ มีวิทยากรนำชมไปตามเส้นทางที่จัดไว้ การสาธิตทางการเกษตร การบรรจุผลิตภัณฑ์หรือการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เป็นต้น
๖. แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ
หมายถึง สถานที่ที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นและจัดให้มีการบริการหรืออำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้มาเยี่ยมเยือนหรือผู้มาใช้บริการได้รับความเพลิดเพลินหรือความสนุกสนาน หรือเพื่อการเรียนรู้ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๖.๑ แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง สถานที่ที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้นเพื่อเน้นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งให้แก่ผู้มาเยี่ยมเยือน เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ชนิดต่างๆ เป็นต้น
๖.๒ แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการเพื่อความบันเทิง หมายถึง สถานที่ที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อเน้นการให้ความบันเทิงหรือความสนุกสนานแก่นักท่องเที่ยวเป็นหลัก เช่น สวนสนุก Theme Park พิพิธภัณฑ์บางประเภท เป็นต้น
๖.๓ แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการเพื่อการผจญภัย หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์พัฒนาขึ้นหรือดัดแปลงธรรมชาติอย่างกลมกลืน เพื่อเน้นให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ใช้บริการได้ดำเนินกิจกรรมที่ท้าทายหรือสร้างความหวาดเสียวหรือเสี่ยงอันตรายแต่ให้ความรู้สึกที่ดีเป็นรางวัลตอบแทน เช่น แหล่งหรือบริเวณที่ปีนป่ายหน้าผา อุทยานผจญภัย เป็นต้น

๒. ผลงานรางวัลประเภทที่พักนักท่องเที่ยว
แบ่งเป็น ๕ ประเภทผลงาน ดังนี้
๑. โรงแรมในเมือง
๒. โรงแรมตากอากาศ
๓. โรงแรมเพื่อการประชุมสัมมนา
๔. โรงแรมบูติคโฮเต็ล
๕. โรงแรมพูลวิลล่า
นิยามประเภทที่พักนักท่องเที่ยว
๑. ประเภทโรงแรมในเมือง (City Hotel)
หมายถึง โรงแรมที่ตั้งอยู่ในเขตเมือง หรือบริเวณใกล้ศูนย์กลางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการแก่ผู้ที่เดินทางเข้าไปติดต่องาน หรือท่องเที่ยว
๒. ประเภทโรงแรมตากอากาศ (Resort Hotel)
หมายถึง ที่พักที่ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหรือใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
๓. ประเภทโรงแรมเพื่อการประชุมสัมมนา (Convention Hotel)
หมายถึง โรงแรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการประเภทการจัดการประชุมสัมมนาและที่พัก โรงแรมที่ส่งเข้าประกวดตั้งอยู่ในจังหวัดใดก็ได้ของประเทศไทย มีห้องประชุมหลักขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ตารางเมตร โรงแรมที่ส่งเข้าประกวดในประเภทนี้จะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อใช้ในการจัดประชุมสัมมนาอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โรงแรมเพื่อการประชุมสัมมนาจะต้องมีการจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน การจัดทำมาตรฐานการบริหารงาน การบริการลูกค้าและการอยู่
ร่วมกับชุมชน
๔. ประเภทโรงแรมบูติค (Boutique Hotel)
หมายถึง ที่พักที่มีลักษณะและจุดขายที่แตกต่างจากสถานที่พักอื่นๆ โดยมีการออกแบบอาคาร ตกแต่งภายในที่แตกต่างและโดดเด่น หรืออาจมีธีม (Theme) ของการสร้างอาคาร ตกแต่งภายในที่น่าสนใจเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยบางแห่งอาจดัดแปลงมาจากอาคารที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และมุ่งเน้นการบริการลูกค้าเป็นสำคัญ โดยอาจรวมถึงลักษณะบริการที่จัดเตรียมไว้ที่สอดคล้องกับรูปแบบชีวิตและพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีจำนวนพนักงานบริการที่สามารถให้บริการและใส่ใจกับรายละเอียดของลูกค้าแต่ละคน (Customized Service) และให้ความสำคัญกับบริการอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า
ทุกคนมากกว่าโรงแรมประเภทอื่นๆ อย่างชัดเจน รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ครบครันในระดับ ๔-๕ ดาว (ตามมาตรฐานระดับดาวของมูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย)
๕. ประเภทโรงแรมพูลวิลล่า (Pool Villa Hotel)
หมายถึง สถานที่พักที่มีการออกแบบตกแต่งห้องพักในบรรยากาศแบบส่วนตัว มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ครบครันในระดับ ๔-๕ ดาว (ตามมาตรฐานระดับดาวของมูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย) มีสระว่ายน้ำหรือสระน้ำแบบจากุสชี่ส่วนตัวภายในบริเวณที่พัก โดยสถานที่พักจะต้องมีจำนวนห้องประเภท Pool Villa อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ของจำนวนห้องทั้งหมด

๓. ผลงานรางวัลประเภทรายการนำเที่ยว
แบ่งเป็น ๒ ประเภทผลงาน ดังนี้
๑. รายการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ
๒. รายการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
นิยามประเภทรายการนำเที่ยว
๑. รายการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศ
หมายถึง รายการนำเที่ยวของบริษัท หรือองค์กรใดๆ ที่จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ๒๕๕๑ และจัดขึ้นเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยและสถานที่ในการนำเที่ยวในรายการที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยเท่านั้น
๒. รายการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
หมายถึง รายการนำเที่ยวของบริษัทหรือองค์กรใดๆ ที่จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ๒๕๕๑ และจัดขึ้นเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและสถานที่ในการนำเที่ยวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นสถานที่ในประเทศไทยเป็นหลัก

๔. ผลงานรางวัลประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
แบ่งเป็น ๓ ประเภทผลงาน
๑. ภาครัฐ
๒. ภาคเอกชน
๓. ภาคประชาสังคม
นิยามประเภทองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว
หมายถึง องค์กรที่สนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่อยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในระดับชาติภูมิภาคและท้องถิ่น อนึ่ง องค์กรในภาคประชาสังคมต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า ๕ คน
- ภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการสังกัดกระทรวงต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา
- ภาคเอกชน เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น
- ภาคประชาสังคม เช่น สมาคม ชมรม มูลนิธิ กลุ่มชุมชนที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นต้น โดยมีโครงสร้างขององค์กรที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ

๕. ผลงานรางวัลประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
๑. ประเภทเดย์ สปา (Day Spa)
๒. ประเภทเดสทิเนชั่น สปา (Destination Spa)
๓. ประเภทรีสอร์ทแอนด์สปา (Hotel/Resort Spa)
๔. ประเภทสถานพยาบาลที่ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
นิยามประเภทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
๑. ประเภทเดย์ สปา (Day Spa)
หมายถึง สถานบริการสปาที่เปิดให้บริการเป็นเอกเทศ ให้บริการการส่งเสริมสุขภาพ การผ่อนคลาย รวมถึงการบริการเพื่อความงาม อาทิ พอกตัว ขัดตัว ทำผม นวดหน้า นวดตัว เป็นต้น ใช้เวลาในการบำบัดเพียงระยะสั้นๆ โดยไม่มีการพักค้างคืน
๒. ประเภทเดสทิเนชั่น สปา (Destination Spa)
หมายถึง สถานบริการสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่มีจุดหมายเดินทางเพื่อไปสร้างเสริมสุขภาพแก่ร่างกายและจิตใจ โดยมีการจัดเตรียมบริการด้านสุขภาพต่างๆ อย่างครบครัน เช่น การลดน้ำหนัก ขจัดสารพิษ โยคะ นั่งสมาธิอุปกรณ์ฟิตเนสและอาหารสุขภาพ ทั้งนี้ อาจมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพให้คำปรึกษาก่อนใช้บริการ โดยมีบริการให้เลือกเป็นแพคเกจตั้งแต่ระยะเวลา ๕ วัน, ๗ วัน ฯลฯ

๓. ประเภทรีสอร์ทแอนด์สปา (Hotel/Resort Spa)
หมายถึง สถานบริการสปาในโรงแรมหรือรีสอร์ทที่บริหารโดยโรงแรม/รีสอร์ท หรือบริหารโดยบริษัทเอกชน โดยให้บริการส่งเสริมสุขภาพ การผ่อนคลาย การบริการเพื่อความงาม อาทิ พอกตัว ขัดตัว ทำผม นวดหน้า นวดตัว ฯลฯ รวมถึงการจัดกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพอื่นๆ อาทิ ฟิตเนส ซาวน่า จากุซซี่ อาหารเพื่อสุขภาพ แก่แขกที่มาเข้าพักเป็นหลัก
๔. ประเภทสถานพยาบาลที่ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
หมายถึง สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำเนินการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีลักษณะการบริการรายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือการดำเนินการด้านตลาดต่างประเทศ


ตัวอย่างรางวัล
รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
ภาคเหนือ
รางวัลดีเด่น
อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก
๒๒๔ หมู่ ๖ ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๑๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๓๔๕ ๓๕๑๗
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก
ดอยฟ้าห่มปกเป็นยอดดอยสูงอันดับสองของประเทศ มีความโดดเด่นทางธรรมชาติดั้งเดิม ทั้งพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย และแหล่งดูนกที่สำคัญ มีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้แก่ท้องถิ่น ด้วยการตั้งชมรมชาวเขานำรถขึ้นดอยรับส่งนักท่องเที่ยว ส่งเสริมและกระตุ้นชุมชนและนักท่องเที่ยวให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้มีการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น
น้ำตกคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน
หมู่ที่ ๑๘ ถ.ตลาดคลองลาน-น้ำตกคลองลาน ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ๖๒๑๘๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๖๒๒ ๑๑๔๐ ต่อ ๑๒๙-๑๓๐, ๐๘ ๔๑๗๘ ๘๘๗๑
อีเมล: klonglan_np@hotmail.com เว็บไซต์: www.dnp.go.th
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของลำน้ำหลายสาย มีระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในระดับดี มีการดำเนินงานด้านวิชาการ เช่น การสำรวจแมลงและผีเสื้อพร้อมจัดเก็บตัวอย่าง การจัดเก็บพันธุ์ไม้แห้งไว้เป็นตัวอย่างให้ผู้สนใจได้ศึกษา รวมทั้งมีระบบสื่อความหมายที่เหมาะสมและความคิดในเชิงสร้างสรรค์ มีกิจกรรมร่วมกับชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ภาคกลาง
รางวัลยอดเยี่ยม
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ๗๖๑๗๐
โทรศัพท์ ๐ ๓๒๔๕ ๙๒๙๓ โทรสาร ๐ ๓๒๔๕ ๙๒๙๑
อีเมล: K_krachan_np@dnp.go.th เว็บไซต์: www.dnp.go.th
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

ผืนป่าแห่งนี้นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันทรงคุณค่า มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ มีรูปแบบการบริหารจัดการทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากร และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
จึงสามารถรักษาผืนป่าให้คงสภาพเดิมได้มากที่สุด อาทิ ต้นน้ำ ทะเลหมอก สัตว์ป่า นก ผีเสื้อ อีกทั้งเป็นพื้นที่ที่สำคัญของภูมิภาคและได้รับการประกาศเป็นพื้นที่มรดกแห่งอาเซียนเมื่อปี ๒๕๔๘

ภาคตะวันออก
รางวัลดีเด่น
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
๔๑ หมู่ ๑๒ ต.พลิ้ว อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ๒๒๑๙๐
โทรศัพท์ ๐ ๓๙๔๓ ๔๕๒๘, ๐๘ ๖๙๗๗ ๐๗๙๔
อีเมล: jammer292002@yahoo.com เว็บไซต์: www.dnp.go.th
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม จุดเด่น คือ มีปลาพลวงจำนวนมากที่นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำกับปลาได้ มีการบริหารจัดการในเรื่องการแบ่งเขตพื้นที่ใช้สอย และมีมาตรการการรักษาความปลอดภัยอย่างชัดเจน เช่น การติดตั้งทุ่นกำหนดเขตเล่นน้ำ ป้ายเตือน และมีเจ้าหน้าที่ดูแลตามจุดต่างๆ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง รวมถึงการลาดตระเวนรักษาความปลอดภัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รางวัลดีเด่น
อุทยานแห่งชาติภูพาน
ถ.สกลนคร-กาฬสินธุ์ ต.ห้วยยาง อ.เมืองฯ จ.สกลนคร ๔๗๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๔๒๗๒ ๖๖๑๖ โทรสาร ๐ ๔๒๗๒ ๖๖๑๖
อีเมล: phuphan69@gmail.com, phuphannt_2006@yahoo.com เว็บไซต์: www.phupan.com
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูพานมีความหลากหลายทางระบบนิเวศ ประกอบด้วยป่าไม้ สัตว์ป่า รวมถึงสิ่งมหัศจรรย์ทางประวัติศาสตร์ เช่นพระธาตุภูเพ็ก ถ้ำเสรีไทย เป็นต้น มีการแบ่งเขตเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวและการจัดการด้านอื่นๆ อย่างชัดเจน มีสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมสำหรับรองรับนักท่องเที่ยว เช่น เดินป่าศึกษาธรรมชาติ จุดชมวิว ลานดอกไม้


อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
ต.แสงสภา อ.นาแห้ว จ.เลย ๔๒๑๗๐
โทรศัพท์ ๐ ๔๒๘๐ ๗๖๑๖, ๐๘ ๙๗๑๑ ๑๕๒๐ โทรสาร ๐ ๔๒๘๐ ๗๖๑๖
อีเมล: Pssnp_Loei@dnp.go.th เว็บไซต์: www.dnp.go.th
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
อุทยานแห่งชาติภูสวนทรายมีทั้งความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ พรรณไม้หนาแน่น มีสัตว์ป่าบางชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น กระโถนพระฤๅษี เต่าปูลู พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับนักท่องเที่ยว อาทิ ลานกางเต๊นท์มีกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ กิจกรรมค่ายเยาวชนอนุรักษ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม และการเดินตามเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ร่องรอยสมัยการสู้รบยุทธภูมิร่มเกล้า นอกจากนี้การบริหารจัดการอื่นๆ อยู่ในเกณฑ์ดี เช่น มีระบบแยกขยะอย่างชัดเจน

ภาคใต้
รางวัลดีเด่น
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
๒๕๘ หมู่ ๗ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๑๑๐
โทรศัพท์ ๐ ๗๕๓๕ ๔๙๖๗, ๐ ๗๕๔๖ ๐๔๖
อีเมล: namtok_yong@paro5.com เว็บไซต์: www.dnp.go.th
ผู้ส่งผลงาน อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
อุทยานแห่งชาติที่ยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมให้อยู่ในสภาพที่ดี ทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวที่ผ่านมา มีการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างดี โดยการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
๙ ถ.ชวนะนันต์ ต.ปูโย๊ะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ๙๖๑๒๐
โทรศัพท์ ๐ ๗๓๕๓ ๘๗๘๙
ผู้ส่งผลงาน ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร
ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธรเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีความโดดเด่น และมีเอกลักษณ์ของธรรมชาติป่าพรุที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่งในประเทศไทย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นแหล่งศึกษาวิจัย เปรียบเสมือนห้องเรียนธรรมชาติสำหรับเยาวชนและผู้สนใจ อีกทั้งผู้รับผิดชอบพื้นที่ยังทำงานร่วมกับชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างดี

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คติสอนใจ ใครๆก็ทำได้


ชีวิตไร้สาระ ขณะนี้ยังไม่สายเกินที่จะแก้ไข

แม้ชีวิตเหลือน้อยลงเพียงใด

ใครจะห็นหรือไม่ เป็นไรเล่า

ควรเลือกเอาความดีที่สร้างสรร

ใครจะเห็นหรือไม่ ไม่สำคัญ

ใจเรานั้น รู้ว่าดี แค่นี้พอ....

ปฏิทินแสดงเวลาของฉัน

ดอยกาศผี

ดอยกาศผี
ทะเลหมอก 360 องศา จ.เชียงราย

ชมทะเลหมอก 360 องศา ที่ดอยกาดผี จ.เชียงราย


ทะเลหมอกที่ไหนๆ ก็ดูได้เพียง 180 องศา
แต่ทางทิศตะวันออกของดอยกาดผี มีดีไม่เหมือนใคร
ทะเลหมอกสวย ดูได้รอบตัว 360 องศา

ดอยกาดผี แหล่งชมทะเลหมอกใหม่ล่าสุด สวยที่สุดและมหัศจรรย์ที่สุดของจังหวัดเชียงราย ซ่อนความงามอยู่ในเทือกเขาดอยวาวี อำเภอแม่สรวย ใช้เวลาเดินทางจากเชียงรายใช้เวลาราว 3 ชั่วโมงโดยรถยนต์ มุมมองที่สวยที่สุดอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นมุมพานอรามา เห็นเทือกเขาสลับซับซ้อนสวยงาม และยังมีมุมอื่นๆ ที่สามารถชมได้รอบตัวใกล้กับดอยนี้ มีที่เที่ยวคือดอยวาวีแหล่งปลูกชา และดอยช้างซึ่งเป็นแหล่งปลูกกาแฟขึ้นชื่อของเมืองไทย เมื่อมาที่นี่ยังสามารถชมดอกนางพญาเสือโคร่ง (ซากุระเมืองไทย) บานได้อีกด้วย